วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

นางในวรรณคดี

                                      เ พ า โ พ ท



       

              ถ้าให้พูดถึงความสวยความงาม คงไม่พ้นหัวข้อนี้แน่นอน นั่นก็คือสาวงามจากวรรณคดีไทย ที่ทุกท่านอาจจะพอรู้จักกันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่ทราบในบางเรื่องหรือในบางมุม ดิฉันจึงเรียบเรียงมาให้ทุกท่านได้อ่านกันแบบอรรถรส  ส่วนแรงบันดาลใจในการตั้งหัวข้อนี้เพราะดิฉันชื่นชอบในวิชาภาษาไทย และมีความสนใจเรื่องวรรณคดีไทย ชอบตัวนางของวรรณคดีตั้งแต่เด็กๆ เพราะแต่งกายสวยงาม ส่วนชื่อหัวข้อ เพาโพท นั้นเป็นคำไวพจน์ ที่แปลว่าผู้หญิง ดิฉันจึงตั้งหัวข้อนี้เพราะอยากให้เป็นจุดสนใจดึงดูดผู้อ่าน และถ้าใครกำลังอ่านถึงตรงนี้แปลว่าคุณตกหลุมพลางเราเข้าแล้วหล่ะ เพราะเพาโพทคำเดียวเลย      ไหนๆก็เผลอตัวถลำใจกดเข้ามาในบล็อกนี้แล้วก็ไปลองอ่านกันเลยค่ะ





                     ภาพจากหนังสือมาลัย



๑.นางสีดา 
ประวัตินางสีดา

บิดา - มารดา   ทศกัณฐ์ และ นางมณโฑ 
บุตร    พระมงกุฎ พระลบ
คู่สมรส  พระราม                   
                                                                                   

ลักษณะนิสัย เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความซื่อสัตย์ต่อสามีเป็นเลิศ และมุมมองของคนอ่านจากการสัมภาษณ์คุณชมพูผู้สนใจในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ให้สัมภาษณ์ว่า นางสีดาเป็นนางในวรรณคดีที่มีลักษณะนิสัยหรือความคิดดีที่สุด  

ลักษณะการแต่งกาย  ห่มสไบดิ้นทอง ผ้าไหมแพร ไว้ผมยาวสลวย

ลักษณะความงาม 

จากบทชมความงาม เรื่อง รามเกียรติ์

 พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดังจันทร พิศขนงโก่งงอนดังคันศิลป์
พิศเนตรดั่งเนตรมฤคิน พิศทนต์ดั่งนิลอันเรียบราย

พิศโอษฐ์ดั่งหนึ่งจะแย้มสรวล พิศนวลดังสีมณีฉาย
พิศปรางดั่งปรางทองปราย พิศกรรณคล้ายกลีบบุษบง



ถอดความได้ว่า

นางสีดามีผิวดั่งพระจันทร์คือมีผิวนวลผ่อง คิ้วโก่งรับรูปสวยงาม
ดวงตาดุจราชสีห์ผู้เป็นเจ้าป่า ฟันเรียงรายสวยงามปากกระจับสวยงามเมื่อยามยิ้ม 
ผิวพรรณเปล่งปลั่ง แก้มสวยคล้ายกลีบบุษบง (ถอดความจากดิฉันผู้สนใจและมีความรู้จากการถอดความจาก อาจารย์ วรรณา กรเพชร อาจารย์วิชาภาษาไทยในชั้นมัธยม การถอดความนี้เพื่อให้ผุ้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเนื่องจากผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ค่อยสันทัดทางด้านกาพย์ โคลง กลอน เป็นต้น) 






                        ภาพจากหนังสือมาลัย


๒.  นางพิมพิลาไลย (วันทอง)
ประวัตินางวันทอง
ชื่อเดิม : พิมพิลาไลย ภายหลังเปลี่ยนเป็นวันทองตามความเชื่อ
บิดา - มารดา  : พันศรโยธา - นางศรีประจัน
บุตร : พลายงาม
คู่สมรส  : ขุนแผน

ลักษณะนิสัย :  ด้วนความที่นางวันทองเป็นสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ จึงทำให้นางโดนประหารชีวิตในตอนท้าย เพราะไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะอยู่กับขุนช้างหรือขุนแผน


ลักษณะการแต่งกาย : ห่มผ้าสีทับทิมริมขลิบทอง ซับในด้วยสไบสีเขียว

ลักษณะความงาม

จากบทชมความงาม เรื่อง ขุนช้างขุนแผน


 ทรวดทรงส่งศรีไม่มีเม้น อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย

ถอดความได้ว่า

นางวันทองเป็นผูที่ทรวดทรงอ่อนแอ้นอรชรผมสลวยสวยงาม (ถอดความจากดิฉันผู้สนใจและมีความรู้จากการถอดความจาก อาจารย์ วรรณา กรเพชร อาจารย์วิชาภาษาไทยในชั้นมัธยม การถอดความนี้เพื่อให้ผุ้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเนื่องจากผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ค่อยสันทัดทางด้านกาพย์ โคลง กลอน เป็นต้น) 







                       ภาพจากหนังสือมาลัย



๓.นางบุษบา

ประวัตินางบุษบา
บิดา - มารดา : ท้าวดาหา - ประไหมสุหรีดาหราวาตี

บุตร  -
คู่สมรส : อิเหนา

ลักษณะนิสัย

อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ ไม่ถือตนว่ายศใหญ่กว่าผู้อื่น รักษาเกียรติของตน ไม่ยอมหลงเชื่อคนอื่นได้ง่ายๆ
มีความซื่อสัตย์

ลักษณะการแต่งกาย
แต่งกายตามลักษณะพระธิดาของวงศ์อสัญแดหวา มีปิ่นปักผมสวยงาม เกาะอกรัดรูป ผ้าแพรทอง สังวาลย์ต่างๆ จากการให้สัมภาษณ์ของคุณอีฟพบว่าผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นให้ความสำคัญเรื่องของการแต่งกาย และการแต่งกายของนางบุษบาก็เป็นที่สนใจของคุณอีฟเพราะบ่งบอกถึงบุคลิกและตระกูลของนางได้เป็นอย่างดีว่าเป็นวงศ์ตระกูลของวงศ์อสัญแดหวา


ลักษณะความงาม

พักตร์น้องละอองนวลเปล่งปลั่ง 
ดังดวงจันทร์วันเพ็งประไพศรี
อรชรอ้อนแอ้นทั้งอินทรีย์                   
ดังกินรีลงสรงคงคาลัย

งามจริงพริ้งพร้องทั้งสารพางค์            
ไม่ขัดขวางเสียทรงที่ตรงไหน
พิศพลางปฎิพัทธ์กำหนัดใน                
จะใคร่ไปโอบอุ้มองค์มา



ถอดความได้ว่า

นางบุษบามีผิวพรรณที่งดงามดังพระจันทร์ รูปร่างอ้อนแอ้นอรชรเปรียบได้เหมือนนางกินรีตอนเล่นน้ำ
(ถอดความจากดิฉันผู้สนใจและมีความรู้จากการถอดความจาก อาจารย์ วรรณา กรเพชร อาจารย์วิชาภาษาไทยในชั้นมัธยม การถอดความนี้เพื่อให้ผุ้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเนื่องจากผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ค่อยสันทัดทางด้านกาพย์ โคลง กลอน เป็นต้น) 



                                        ภาพจากหนังสือมาลัย


๔.นางมัทนา 
เป็นเทพธิดาที่มีความงามแต่ความงามเป็นเหตุให้นางถูกสาปกลายเป็นดอกกุหลาบจนกว่าจะได้เจอรักแท้ จากการสัมภาษณ์คุณชมพู เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะผู้หญิงมักคู่กับดอกไม้ ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงมักที่จะชอบนางมัทนาและยังเป็นที่รู้จักเพราะวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธามีเนื้อหาในบทเรียนชั้นมัธยม

บิดา - มารดา : อาศัยอยู่กับฤาษีกาละทรรศิน

คู่สมรส : ท้าวชัยเสน

ลักษณะนิสัย
มั้นคงต่อความรัก ซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที

ลักษณะความงาม
                 จริงอยู่นะเจ้าเอย                                                 ผิจะเชยสมัคสมาน
นางใด แมนการ                                                               ก็จะสิทธิสมฤดี

        เว้นเดียวก็แต่โฉม                                                        มะทะนาวิสุทธิศรีผู้เลิศสุรางค์มี                     

วรรูปวิเลขวิไลยแต่เห็นอนงค์รา-                                         มะประเสริฐวิเศษวิสัยไม่มีอนงค์ใด                     
          นะจะเทียบจะเทียมทันงามผิวประไพผ่อง                 กลทาบศุภาสุพรรณงามแก้มแฉล้มฉัน             พระอรุณแอร่มละลานงามเกศะดำขำ                                  กลน้ำณท้องละหานงามเนตร์พินิศปาน               
             สุมณีมะโนหะรางามทรวงสล้างสอง                      วรถันสุมนมา-
ลีเลิดประเสริฐกว่า                                                              วรุบลสะโรชะมาศงามเอวอนงค์รา        
     
            สุระศิลปชาญฉลาดเกลากลึงประหนึ่งวาด              วรรูปพิไลยพะวงงามกรประหนึ่งงวง               
 สุระคชสุเรนทะทรงนวยนาฏวิลาศวง                                 ดุจะรำระบำระเบงซ้ำไพเราะน้ำเสียง                 
             อรเพียงพิรมประเลงได้ฟังก็วังเวง                         บมิว่างมิวายถวิลนางใดจะมีเทียบ                   
 มะทะนาณฟ้าณดินเปนยอดและจดจิน-                            ตะนะแน่วณอกณใจ

ถอดความได้ว่า
นางมัทนางามไม่มีผู้ใดเทียบได้ ผิวพรรณสวยงาม แก้มเปล่งปลั่งดั่งพระอาทิตย์ ผมสีดำเงางามสลวย ดวงตางดงาม หน้าอกเข้าทรงได้รูป เอวบางร่างน้อยเปรียบเสมือนพาพวาด น้ำเสียงไพเราะเสนาะหู ไม่มีนางใดเปรียบได้ทั้ง 2 พิภพ คือฟ้าและดิน(ถอดความจากดิฉันผู้สนใจและมีความรู้จากการถอดความจาก อาจารย์ วรรณา กรเพชร อาจารย์วิชาภาษาไทยในชั้นมัธยม การถอดความนี้เพื่อให้ผุ้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเนื่องจากผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ค่อยสันทัดทางด้านกาพย์ โคลง กลอน เป็นต้น) 





          เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย เห็นมั้ยว่าวรรณคดีไทยไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่ทุกคนคิด ยังมีอีกหลายเรื่อง หลายมุมมองที่น่าสนใจ  ซึ่งนางในวรรณคดีก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ดิฉันได้หยิบยกมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ จึงมุ่งเสนอในรูปแบบ กะทัดรัด เข้าใจง่าย ได้ใจความ

       ดิฉันจัดทำบล็อกนี้ขึ้นมาไม่ได้หวังหรือประสงค์สิ่งใดนอกจากอยากส่งเสริมวรรณคดีไทยให้มีผู้คนสนใจเยอะๆ หันมาอ่านวรรณคดีไทยกันเยอะๆ เพราะมีอะไรมากกว่าที่ดิฉันนำเสนออย่างแน่นอน

การเลือกแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจากทางหนังสือ เพราะเป็นข้อมูลที่ชัดเจนเป็นส่วนใหญ่ แต่จากการที่ไปสัมภาษณ์เพื่อต้องการได้รับความคิดเห็นจากวัยรุ่นปัจจุบันและผู้สนใจวรรณคดีไทย สนใจเรื่องความงามของนางในวรรณคดี ส่วนการรวบรวบข้อมูลก็เน้นแบบง่ายๆสบายๆ สั้นๆได้ใจความ กะทัดรัด ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจบทความได้ง่าย

 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

เรื่องภาพถ่ายและงบประมาณ ดิฉันอยากให้งานออกมาเสร็จสมบูรณ์และมีคุณภาพที่สุด จึงอยากหาซื้อของเครื่ิองแต่งกาย มาถ่ายเองและใส่ไปในบล็อกแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ อยากเดินทางไปสัมภาษณ์คุณครูวิชาภาษาไทย แต่ก้ ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเวลามีจำกัด และปัญหาเรื่องค่าเดินทางและปัญหากับเวลาด้วย คือการจัดสรรเวลาที่ไม่เพียงพอ และไม่เป็นระเบียบ ระบบ

มาลัย. “นางในวรรณคดี” ใน “กุลสตรี” หน้า 134-136.มาลินี ตั้งวิ็นข้อมูชาวงศ์ บรรณาธิการ, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ บวรสารการพิมพ์2536

นางสาวณัชชานันท์ บุญจันทร์ / นักศึกษาผู้สนใจวรรณคดีไทย / มหาวิทยาลัยรังสิต / 21 ก.พ 2562.
นางสาว นินชนก ข้อจักร / นักศึกษาผู้สนใจวรรณคดีไทย/ มหาวิทยาลัยรังสิต / 21 ก.พ 2562.
นางสาว อนิญชนา วีระศิลป์ /นักศึกษาผู้สนใจวรรณคดีไทย/ มหาวิทยาลัยรังสิต / 21 ก.พ 2562.

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น